วันศุกร์ที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

แผนการจัดการเรียนรู้

แผนการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
แผนการเรียนรู้ที่ 1 หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 : My Personal nInformation
เรื่อง Part of My Face ระยะเวลา 1 ชั่วโมง

1.จุดประสงค์ปลายทาง เข้าใจคำสั่งง่าย ๆ แล้วปฏิบัติตามได้
2.จุดประสงค์นำทาง 1. ออกเสียงคำศัพท์ส่วนต่างๆ ของใบหน้าได้
2. บอกความหมายของคำศัพท์เกี่ยวกับส่วนต่าง ๆ ของใบหน้าได้
3. พูดเพื่อให้ข้อมูลเกี่ยวกับส่วนต่าง ๆ ของใบหน้าของตนเองได้
3.เนื้อหาทางภาษา
Skills การฟังและการพูด
Function Giving Information
การปฏิบัติตามคำสั่ง
Touch your____________ , please.
Vocabulary eye , ear , nose , mouth , face.

4. สื่อการเรียนรู้ 1. บัตรคำ
2. ภาพแสดงส่วนต่าง ๆ ของใบหน้า


5. กิจกรรมการเรียนรู้
Warm up
1. ครูนำภาพดวงตาภาพใหญ่ ๆ ติดบนกระดานแต่ปิดไว้ด้วยกระดาษหลาย ๆ ชิ้น ค่อย ๆ เปิดทีละส่วน
ให้นักเรียนเดา โดยครูอาจให้ข้อมูลว่า This is a part on your face.
Presentation
1.ให้นักเรียนบอกส่วนต่าง ๆ บนใบหน้าที่นักเรียนรู้จักเป็นภาษาอังกฤษ ครูให้อาสาสมัครลองเขียน คำศัพท์บนกระดาน ครูช่วยแก้ไขถ้าเขียนผิด
2. ครูชี้ส่วนต่าง ๆ ของใบหน้า และพูด Face, eyes, ears, nose, mouth, cheek ให้นักเรียนออกเสียงและชี้ตาม
3. นักเรียนชี้ส่วนต่าง ๆ ของร่างกายแล้วพูดประโยคตามครู This is my face. I have two eyes,
two ears. Ihave two ears.etc.
4. ครูชี้อวัยวะส่วนต่าง ๆ ที่เรียนแล้วให้นักเรียนชี้ตามแล้วพูดประโยคเอง
5.ให้นักเรียนปฏิบัติตามคำสั่ง เมื่อมีคำว่า “Please”
Touch your eyes, please
Touch your ears, please.
Touch your nose, please.
Touch your mouth, please.
Touch your cheeks. Please.
6. แบ่งนักเรียนออกเป็น 2 กลุ่ม เพื่อฝึกปฏิบัติตามคำสั่ง
Practice
1. ให้นักเรียนจับคู่ แล้วฝึกพูดบรรยายตามรูปประโยคต่อไปนี้ โดยใช้ท่าทางประกอบ
On your face are two eyes, ears, cheeks, a nose and a mouth
2. แบ่งกลุ่มนักเรียน 4 – 5 กลุ่ม ให้แต่ละกลุ่มวาดภาพใบหน้าลงบนกระดาษแผ่นใหญ่
ตัดส่วนประกอบต่างๆ ของใบหน้าที่วาดออกแล้วกองไว้รวมกัน
3.นักเรียนจับชิ้นส่วนที่ตัดไว้คนละ 1 ชิ้นแล้วพูดออกเสียงส่วนประกอบของใบหน้าที่หยิบได้
จากนั้นกองไว้รวมกันทำซ้ำ 4-5 เที่ยว

Production
1. สรุปเนื้อหาที่เรียนด้วยกิจกรรมตามคำสั่ง เมื่อมีคำว่า “Please”
2. นักเรียนติดภาพที่แสดงส่วนต่าง ๆ ของใบหน้าบนผนังห้องเรียน ให้นักเรียนเขียนคำศัพท์
ที่ได้เรียนไปแล้วกำกับที่ภาพ


6.การวัดและประเมินผล
1. การฟัง 1. การสังเกตพฤติกรรมการฟัง และการปฏิบัติตามคำสั่ง
2. การพูด 2. สังเกตพฤติกรรมการพูด
3. สังเกตพฤติกรรมการเข้าร่วมกิจกรรม

7. กิจกรรมเสนอแนะ................นักเรียนจับคู่ฝึกพูดออกคำสั่ง Touch your……………………… …………………………………………………………………………………………

8.บันทึกหลังการสอน
1. ผลการสอน ...........................................................................................................................................
2. ปัญหาอุปสรรค........................................................................................................................................
3. ข้อเสนอแนะ/แนวทางแก้ไข........................................................................................................................


สื่อการเรียนการสอน



ส่วนประกอบของหน้า












Nose , Eyes , Ears , Mouth , Face

จงบอกคำศัพท์ส่วนประกอบของหน้าดังรูป

Vocabulary





































































วันอังคารที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

วันจันทร์ที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2552

สื่อการเรียนการสอน

การสื่อความหมาย (Communications) หมายถึง การถ่ายทอดข่าวสาร ข้อเท็จจริง ความคิดเห็น ตลอดจนความรู้สึกนึกคิด จากผู้ส่งไปยังผู้รับ หรือจากบุคคลหนึ่งไปยังบุคคลอื่น ๆ ให้เกิดความรู้สึก ความเข้าใจตรงกัน เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันการสื่อความหมายมีลักษณะเป็นกระบวนการ โดยมีองค์ประกอบสำคัญ 4 ประการ คือ3.1.1 ผู้ส่งสาร (Sender) คือผู้ที่สื่อความหมายไปยังผู้รับ3.1.2 สาร (Message) คือ เรื่องราวข้อมูล ที่ผู้ส่งสารต้องการให้ผู้รับเกิดพฤติกรรมตามที่ต้องการ3.1.3 สื่อหรือช่องทาง (Channel) เป็นตัวที่ทำให้เนื้อหาสาระ มีรูปร่างลักษณะที่เหมาะสมกับการไปถึงผู้รับสารได้ ในรูปแบบต่าง ๆ เช่น ภาษาพูด ภาษาเขียน รูปภาพ ท่าทาง สัญลักษณ์ และเครื่องมือต่าง ๆ เช่น วิทยุ โทรทัศน์ หนังสือ เป็นต้น3.1.4 ผู้รับสาร (Receiver) ผู้รับสารที่ผ่านมาโดยใช้ประสาทสัมผัส ทางใดทางหนึ่งในการรับ เช่น ตามองดู หูรับฟัง เป็นต้น

พัฒนาการทางเทคโนโลยีศึกษา

พัฒนาการทางเทคโนโลยีการศึกษาชาวกรีกโบราณ ได้ใช้วัสดุและวิธีการในการสอนประวัติศาสตร์ และหน้าที่พลเมือง ด้วย การแสดงละครเพื่อสร้างเจตคติทางจรรยาและการเมือง ใช้ดนตรีเพื่อสร้างอารมณ์ และยังได้ย้ำถึงความสำคัญของการศึกษานอกสถานที่ด้วย นอกจากนี้การสอนศิลปวิจักษ์ในสมัยนั้นได้ใช้รูปปั้น และงานแกะสลักช่วยสอน ซึ่งนับว่าเป็นการใช้ทัศนวัสดุในการสอนแทนการปาฐกถาอย่างเดียวเพลโต นักปราชญ์ชาวกรีก ได้ย้ำถึงความสำคัญของคำพูดที่ใช้กันนั้นว่า เมื่อพูดไปแล้วอะไรเป็นความหมายที่อยู่เบื้องหลังสิ่งนั้น จึงได้กระตุ้นให้ใช้วัตถุประกอบเพื่อช่วยให้เข้าใจได้ดีขึ้นฟรานซิส เบคอน (ค.ศ.1561-1626) สนับสนุนวิธีใหม่ ๆ แบบ Realism คือหันมายึดวัตถุและความคิด โดยเสนอแนะว่า การเรียนการสอนนั้น ควรให้ผู้เรียนได้รู้จักสังเกต พิจารณา เหตุผลในชีวิตจริง โดยครูเป็นผู้นำให้นักเรียนคิดหาวิธีแก้ปัญหาซึ่งจะต้องอาศัยการสังเกตพิจารณานั่นเอง ไม่ใช่ครูเป็นผู้บอกเสียทุกอย่างโจฮันน์ อะมอส คอมินิอุส (Johannes Amos Comenius ค.ศ.1592-1670) เป็นผู้ที่พยายามใช้วัตถุ สิ่งของช่วยในการสอนอย่างจริงจัง จนได้รับเกียรติว่าเป็นบิดาแห่งโสตทัศนศึกษา คอมินิอุสได้แต่งหนังสือสำคัญ ๆ ไว้มากมาย ที่สำคัญยิ่งคือ หนังสือ Obis Sensualium Pictus หรือ "โลกในรูปภาพ" ซึ่งพิมพ์ครั้งแรกในปี ค.ศ.1685 เป็นหนังสือที่ใช้รูปภาพประกอบบทเรียน ถึง 150 ภาพ ซึ่งนับว่าเป็นการใช้ทัศนวัสดุประกอบการเรียนเป็นครั้งแรกธอร์นไดค์ (thorndike) เป็นนักจิตวิทยาการศึกษาชาวอเมริกันที่ใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทางการศึกษาประกอบหลักการทางจิตวิทยา โดยได้ทดลองทางจิตวิทยาเกี่ยวกับ การตอบสนองของสัตว์และมนุษย์ เขาได้ออกแบบสื่อการสอน เพื่อให้ตอบสนองเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคล โดยเฉพาะอย่างยิ่งการสอนแบบโปรแกรมจึงได้ชื่อว่า เป็นคนแรกที่ริเริ่มเทคโนโลยีการศึกษาแนวใหม่บี เอฟ สกินเนอร์ (B.F.Skinner) เป็นผู้ใช้แนวความคิดใหม่ทางจิตวิทยาเกี่ยวกับสิ่งเร้าและผลตอบสนองโดยคำนึงถึงธรรมชาติของมนุษย์ เขาได้ทำการทดลองกับสัตว์โดยฝึกเป็นขั้น ๆ เป็นผู้ที่มีชื่อเสียงในการสอนแบบโปรแกรม และเป็นผู้ที่คิดเครื่องช่วยสอนได้เป็นผลสำเร็จเป็นคนแรก แนวคิดทางเทคโนโลยีการศึกษาปัจจุบัน ได้รากฐานมาจากแนวความคิดของสกินเนอร์เป็นส่วนมากสำหรับพัฒนาการทางเทคโนโลยีการศึกษาในประเทศไทยนั้น ได้มีการให้ความสำคัญต่อเทคโนโลยีการศึกษา ทั้งในด้านการจัดตั้งหน่วยงานด้านเทคโนโลยีการศึกษา ในหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐบาลและเอกชน ตลอดจนมีการเปิดการเรียนการสอนด้านเทคโนโลยีการศึกษาระดับปริญญาตรี-โท-เอก ในสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษา ทั้งนี้เพื่อให้สอดคล้องกับ พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติฉบับ พ.ศ.2542 ที่เน้นความสำคัญของเทคโนโลยีการศึกษาเพื่อให้สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงและความเจริญก้าวหน้าของเทคโนโลยีนั่นเอง
เทคโนโลยีและนวัตกรรมการศึกษา การนำเอาเทคโนโลยีทางการศึกษาไปใช้ในกระบวนการเรียนการสอนนั้น เรามักจะพบ ว่าเมื่อสถานการณ์ของการใช้เปลี่ยนแปลงไป เช่น ชั้นเรียนที่ผู้เรียนเปลี่ยนไป หรือเวลาที่ต่างกัน สิ่งเหล่านี้ มีผลต่อประสิทธิภาพของวิธีการที่ผู้สอนนำไปใช้ในการเรียนการสอนทั้งสิ้น ในกรณีที่ใช้วิธีการนั้นต่อไป ซึ่งนับว่าเป็นการใช้เทคโนโลยี แต่ในกรณีที่ประสิทธิภาพลดลง ก็มีความจำเป็นที่จะต้องปรับปรุงวิธีการนั้น ๆ หรืออาจต้องหาวิธีการใหม่ ๆ มาใช้ สิ่งใหม่ที่นำมาใช้หรือวิธีการที่ได้รับนำเอาการปรับปรุงเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพนี้เรียกว่า นวัตกรรม (Innovation)
นวัตกรรม = นว (ใหม่) + อัตตา (ตนเอง) + กรรม (การกระทำ)
ในการดำเนินกิจกรรมด้านต่าง ๆ มักจะเผชิญปัญหาต่าง ๆ มากมายมนุษย์จึงพยายามสร้างนวัตกรรมขึ้นมาเพื่อแก้ปัญหา เพื่อเปลี่ยนจากสภาพที่เคยเป็นอยู่ไปสู่สภาพที่อยากเป็น นวัตกรรมจึงเข้าไปเกี่ยวข้องกับวงการต่าง ๆ เช่น นวัตกรรมทางการแพทย์ นวัตกรรมทางการเกษตร นวัตกรรมทางอุตสาหกรรม นวัตกรรมทางการบริหาร นวัตกรรมทางการประมง นวัตกรรมทางการสื่อสาร นวัตกรรมทางการศึกษา ฯลฯ เป็นต้นลักษณะของนวัตกรรม สิ่งที่ต้องจัดว่าเป็นนวัตกรรม ควรประกอบด้วยลักษณะ ดังนี้1. จะต้องเป็นการสร้างสรรค์ขึ้นใหม่ (creative) และเป็นความคิดที่สามารถปฏิบัติได้ (Feasible ideas)2. จะต้องสามารถนำไปใช้ได้ผลจริงจัง (practical application)3. มีการแพร่ออกไปสู่ชุมชน (diffusion through)

เทคโนโลยีการศึกษา

เทคโนโลยี (Technology) มีรากศัพท์มาจากภาษากรีก คือTech = Art ในภาษาอังกฤษ Logos = A study ofดังนั้น คำว่า เทคโนโลยี จึงหมายถึง A study of art ซึ่งได้มีผู้แปลความหมาย สรุป ได้ว่า เทคโนโลยี หมายถึง การนำความรู้ทางวิทยาศาสตร์ และระเบียบวิธีทางวิทยาศาสตร์มาใช้ให้เป็นประโยชน์ในการพัฒนาและปฏิบัติงาน อย่างเป็นระบบ โดยสามารถนำไปใช้ในสาขาต่าง ๆ กัน และเรียกชื่อไปตามสาขาที่ใช้ เช่น
- เทคโนโลยีการเกษตร
: การคิดค้นวิธีการเครื่องมือ ปัจจัยในการผลิต ทางการเกษตร
- เทคโนโลยีการคมนาคมขนส่ง
: การคิดค้นเกี่ยวกับยานพาหนะ การเดินทาง การขนส่ง
- เทคโนโลยีการแพทย์
: การคิดค้นการตรวจรักษาโรค การผลิตยา และเครื่องมือทางการแพทย์
- เทคโนโลยีชีวิตประจำวัน
: การประดิษฐ์เสื้อผ้า เครื่องใช้ในที่อยู่อาศัย อุปกรณ์อำนวยความสะดวก
- เทคโนโลยีการสงคราม
: อาวุธนิวเคลียร์
- เทคโนโลยีการสื่อสาร
: การเก็บรวบรวมการค้นหา การส่งข้อมูลทั้ง ทางโทรเลข โทรศัพท์ วิทยุ คอมพิวเตอร์
- เทคโนโลยีการศึกษา
: วิธีการให้ความรู้ ที่เกี่ยวข้องกับการวิธีการให้ การศึกษาสื่อการศึกษา และครุภัณฑ์ทางการ ศึกษา
สรุปเป็นประเด็นสำคัญที่เกี่ยวข้อง ดังนี้1. ความหมายของเทคโนโลยีการศึกษา ก็คือ ศาสตร์ว่าด้วยวิธีการทางการศึกษา การพัฒนา และการประยุกต์วัสดุ เครื่องมือ วิธีการ เพื่อนำมาใช้ในสถานการณ์การเรียนการสอนได้อย่างเหมาะสม ทั้งนี้เพื่อประสิทธิภาพการเรียนรู้ของคนให้ดียิ่งขึ้น 2. นักเทคโนโลยี (Technologist) คือผู้นำเอาเทคโนโลยีมาใช้ 3. ช่างเทคนิค (Technician) คือผู้ที่มีความรู้เกี่ยวกับการซ่อมเครื่องมือเพื่อให้เครื่องมือทำงานได้ดีที่สุด

วันจันทร์ที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2551

1.ระบบหมายถึง ผลรวมของหน่วยย่อยต่าง ๆ ที่มีความสัมพันธ์กันอาจเป็นไปตาม ธรรมชาติหรือเกิดจากการออกแบบสร้างสรรค์อย่างมีระเบียบและมีความสัมพันธ์กันโดยใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์เพื่อให้ดำเนินงานบรรลุตามจุดมุ่งหมาย
2.ระบบมีองค์ประกอบที่สำคัญอะไรบ้าง
องค์ประกอบที่สำคัญ คือ ข้อมูลป้อนเข้า (Input) กระบวนการ (Process) ผลที่ได้รับ (Output) และข้อมูลย้อนกลับ (Feedback)
3.ข้อมูลย้อนกลับมีความสำคัญกับการวิเคราะห์ระบบอย่างไร
ข้อมูลย้อนกลับ Feedback เป็นการนำเอาผลลัพธ์ที่ประเมินนั้นมาพิจารณาว่ามีข้อบกพร่องอะไรบ้าง เพื่อจะได้ทำการปรับปรุงแก้ไขข้อบกพร่องในส่วนต่าง ๆ นั้นให้สามารถใช้ในการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
4.ทำไม ต้องมีการวิเคราะห์ระบบ
การวิเคราะห์ระบบ System Analysis เป็นการนำเอาระเบียบวิธีการทางวิทยาศาสตร์ เข้ามาประยุกต์ใช้โดยพิจารณาถึงความสัมพันธ์ต่าง ๆขององค์ประกอบทั้งหลายภายในระบบเพื่อตรวจสอบโครงสร้างและขั้นตอนการดำเนินงานของระบบให้เห็นเป็นกระบวนการอย่างชัดเจน เพื่อประโยชน์ต่อการนำไปเป็นหลักการในทางปฎิบัติ